กระหย่ง ๒ หมายถึง ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระหย่งวิ่งกระหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็มเห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระหย่ง, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระหย่ง, กระโหย่งหย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
(โบ; แผลงมาจาก ขยด) ก. ถด, ถอย, เขยิบ, เช่น กระหยดเข้านางเจ้าแม่ทรงศาสตราชัย. (มโนห์รา).
(โบ) ก. หมอบ เช่น ฟุบกบกระหยบเงียบมิเกรียบไว้. (มโนห์รา);(ถิ่น-ปักษ์ใต้) แอบ, ซ่อน, ซุก.
(โบ) ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง เช่น พระยานั่งอยู่แลกระหย่อนองค์โลดขึ้นทั้งนั้นก็ดี ขึ้นสูงได้ ๑๘ ศอก. (ไตรภูมิ;สรรพสิทธิ์; พงศ. เหนือ), กระย่อน ก็ว่า.
น. หย่อม คือ หมู่เล็ก ๆ, กองเล็ก ๆ.
น. ขยะ เช่น หนึ่งนิทไทรในราษตรี บมิหลับดั่งมี กระหยะแลผงเลือดไร. (อภิไธยโพธิบาทว์). (แผลงมาจาก ขยะ).
(ถิ่น-อีสาน) น. สมุกใส่เครื่องนุ่งห่ม. (ลัทธิ. ภาค ๑๘ ตอน ๑);ภาชนะชนิดหนึ่งคล้ายตะกร้าสําหรับใส่ของ.
(กลอน) ก. ขยับ เช่น มือถือธนูกระหยับลั่น. (รามเกียรติ์ ร. ๑;ไกรทอง; สรรพสิทธิ์). (แผลงมาจาก ขยับ).